หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อแตกต่างระหว่างพรมมิกับลานไพลิน



พรมมิ หรือ Bacopa monnieri L.Wettst. เป็นผักพื้นบ้านที่พบได้ทั่วไปใน ประเทศไทยโดยมีถิ่นกำเนิดในเนปาลและอินเดีย เป็นพืชสะเทินน้ำสะเทินบก ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ เช่นขอบสระน้ำ ลักษณะลำต้นใหญ่ อวบน้ำ ไม่มีขน เลื้อยทอดไปตามพื้นและชูยอดขึ้น

ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ค่อนข้างยาว โคนใบแคบ ปลายใบกว้างมนกลม ขอบใบเรียบ แตกจากลำต้นแบบตรงกันข้าม ออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาวหรือสีครามอ่อน ตอนโคนติดกันเป็นหลอดตอนปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 4 อัน ติดอยู่กับกลีบดอก
ดอกพรมมิ เกือบจะเป็นสีขาว


แสดงลำต้นที่ไม่มีขนของพรมมิ


       

ส่วนพืชอีกชนิดที่มีลักษณะคล้ายกัน คือ ต้นลานไพลิน หรือ Bacopa caroliniana (Walt) Rob.) เป็นพืชสะเทินน้ำสะเทินบกอายุข้ามปี มีลำต้นกลมใหญ่มีขน อาจขึ้นใต้น้ำหรือเลื้อยทอดไปตามพื้น แล้วชูยอดตั้งขึ้น

ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ส่วนโคนใบกว้างกว่าปลายใบ ขอบใบเรียบ แตกจากลำต้นแบบตรงกันข้าม ใบเหนือน้ำหนาและแข็งกว่าใบใต้น้ำ ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ เจริญเหนือน้ำ มีก้านดอกสั้น กลีบดอกสีฟ้าคราม โคนกลีบติดกันเป็นรูปกรวย ปลายกลีบดอกมี 5 แฉก ภายในมีขน เกสรตัวผู้มี 4 อัน

ลักษณะขนที่ลำต้นของลานไพลิน

ดอกลานไพลินสีฟ้าครามเกือบม่วง

 ส่วนการขยายพันธุ์ ทั้งสองชนิดสามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำทั้งคู่ ขึ้นค่อนข้างง่าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น