|
ลักษณะใบและต้นครับ |
กะทกรก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passiflora foetida Linn. อยู่ในวงศ์ Passifloraceae
ชื่ออื่น ๆ รก กระโปรงทอง ตำลึงฝรั่ง เถาเงาะ หญ้ารกช้าง ผักขี้หิด
|
ดอกกะทกรกครับ |
ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกเลื้อย ลำต้นมีขนปกคลุม ทั้งต้นมีกลิ่นเหม็นเขียว ใบเดี่ยว รูปไข่ ขอบใบหยักเว้า 3 หยัก ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้า ออกดอกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นคู่ตามซอกใบ แต่ละดอกมีใบประดับ 3 ใบรองรับ ใบประดับรูปไข่ขอบใบเป็นเส้นใยฝอยสีเขียว กลีบเลี้ยง 3-5 กลีบ รูปขอบขนาน มีติ่งยื่นแหลมตรงปลายกลีบ ด้านในสีขาวด้านนอกสีเขียว กลีบดอก 3-5 กลีบ รูปขอบขนาน สีขาว เกสรตัวผู้ มี 5-8 อัน ก้านชูเกสรตัวเมีย 3 อัน มีระยางค์เส้นยาว ๆ สีม่วงปลายสีขาวจำนวนมาก ผลค่อนข้างกลม สีเขียว เมื่อแก่สีส้มมีใบประดับหุ้มอยู่
|
ผลดิบมีใบประดับหุ้ม |
พบเห็นทั่วไปตามที่ทิ้งร้าง ริมทาง ชายป่า
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
ใบสด ใช้พอกแผล รักษาโรคผิวหนังจำพวกหิด
ทั้งต้น ใช้เป็นยาธาตุ ยาอายุวัฒนะ
|
อันนี้ดักแด้หนอนกะทกรกครับ |
ข้อควรระวัง
ผลสุก ใบ และยอดอ่อนสามารถรับประทานได้
แต่ผลดิบสดและใบสดมีสารพิษ Cyanogenetic glycoside ถ้ารับประทานในปริมาณมากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ควรนำผลดิบสดและใบสดมาต้มและรับประทานปริมาณน้อย ๆ จึงจะไม่เป็นอันตราย
|
ออกจากดักแด้แล้วหน้าตาแบบนี้ครับ สวยดี |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น