วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พุดดาว



พุดดาว

Blackberry Jam Fruit, Raspberry Bush, Jasmin de Rosa

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rosenbergiodendron formosum (Jacq.) Fagerl. 

synonym :
(Randia formosa (Jacq.) K.Schum.)
(Randia mussaenda (L.f.) DC.)
(Gardenia mussaenda L.f.)
 (Genipa mussaendae (L.f.) Baill.)
(Mussaenda formosa Jacq.)
ที่มา http://www.theplantlist.org

วงศ์ Rubiaceae


พุดดาว             เป็นพุดนำเข้าจากต่างประเทศ มีแหล่งกำเนิดแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ 

ต้น                     เป็นไม้พุ่มที่มีข้อสั้น โตค่อนข้างช้า สูงได้ประมาณ 1 - 1.5 เมตร ใบมีขนาดเล็ก ปลาย
                          แหลม
ดอก                  กลีบดอกสีขาว มี 5 แฉก มองดูคล้ายรูปดาว เกสรตัวผู้สีเหลืองติดอยู่ระหว่างแฉก เกสร
                          ตัวเมียสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกดกมากช่วงเดือน มีนาคม - กรกฎาคม



ผล                    ผล มีลักษณะคล้ายลูกฝรั่งผลเล็ก ๆ ยาวประมาณ 2 ซม. เมื่อสุกจะมีสีเหลือง


ภาพจาก ebay.com
เนื้อในผล        มีสีดำ มีเมล็ดอยู่จำนวนมาก 

วิธีปลูก            ปลูกด้วยดินร่วนระบายน้ำได้ดี อยู่ได้ทั้งแดดเต็มวัน ครึ่งวัน หรือรำไร 

โรคและแมลง เพลี้ยแป้ง จะทำให้ใบและดอกหงิกงอผิดรูป

การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ




ฝอยทอง เป็นทั้งสมุนไพรและวัชพืช


ฝอยทอง

ฝอยไหม (นครราชสีมา) , ผักไหม (อุดรธานี) , กิมซีเช่าโท้วซี (จีน-แต้จิ๋ว), Dodder


Cuscuta chinensis Lam.

CUSCUTACEAE


ต้น             เป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะ ดูดน้ำกินจกต้นไม้อื่น ลักษณะของลำต้นเป็นเส้นกลม 
                     อ่อน แตกเป็นกิ่งก้านสาขา เป็นเส้นยาว มีสีเหลือง

ใบ             ใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เกล็ดเล็ก ๆ




ดอก             ดอกออกเป็นช่อ ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็ก ๆ กลีบดอกยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอก
                     เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนปลายกลีบจะมน แยกออกเป็น 5 แฉก กลางดอกมีเกสรตัวผู้อยู่
                     5 อัน ตัวเมียมี 2 อัน

ผล               ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมแบน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 3 มม. เป็นสีเทา ข้างในผล
                    มีเมล็ดอยู่ 2-4 เม็ด เป็นรูปค่อนข้างกลมรี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1.5 มม. เป็นสี
                    เหลืองอมเทา

การขยายพันธุ์   เป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นในปริมาณค่อนข้างมาก ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้    ลำต้น เมล็ด



สรรพคุณ : ลำต้น ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มน้ำกินเป็นยาแก้บิด อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด ตกเลือด ไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล แก้โรคดีซ่าน และแก้พิษ หรือใช้ภายนอก โดยการนำเอาลำต้นมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทา หรือพอก บริเวณที่เป็นฝ้า ผดผื่นคัน แผลเรื้อรัง และใช้ห้ามเลือด เป็นต้น

เมล็ด ใช้เมล็ดที่แห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มน้ำกิน หรือนำมาบดให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ด หรือทำเป็นยาผง ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงตับไต แก้ปวดเมื่อยตามอวัยวะ ทำให้ตาสว่าง แก้กระหาย และน้ำกามเคลื่อน เป็นต้น

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้กับ หญิงที่ตั้งครรภ์ และบุคคลที่ท้องผูก

อื่น ๆ : ถ้าพรรณไม้ชนิดนี้ขึ้นเกาะบน ต้นยี่โถ ต้นลำโพง ต้นยาสูบ และต้นถอบแถบน้ำ ไม่ควรเก็บมาใช้เป็นยา เพราะลำต้นขึ้นเกาะอาจเป็นพิษ

ถิ่นที่อยู่ : ฝอยทอง เป็นพรรณไม้ที่มักพบตามบริเวณพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้น ทั่ว ๆ ไป เป็นพรรณไม้กาฝากที่ชอบขึ้นเกาะต้นไม้ตระกูลถั่ว และจำพวกทานตะวัน เป็นต้น

ดอกและผล

ขอขอบคุณ เวปไซต์ สมุนไพรดอทคอม www.samunpri.com 

นอกจากนี้ ฝอยทองยังจัดเป็นวัชพืชที่มีการรุกรานแพร่ขยายได้เร็วมาก จนอาจทำให้ต้นไม้ที่ถูกฝอยทองยึดเกาะอาจตายได้ในเวลาไม่นาน และยังสามารถปกคลุมไม้ใหญ่ได้อย่างง่ายดาย การกำจัดทำได้เพียงการตัดทำลายในช่วงก่อนที่จะออกดอก



ต้นฝอยทองพันไม้จนโทรม


ลักษณะรากที่ใช้ดูดน้ำเลี้ยง