วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565

มือใหม่หัดเลี้ยงแคคตัส ภาค2

 กลับมาอีกครั้งสำหรับการปลูกเลี้ยงแคคตัสหลังจากการลองผิดลองถูกมานาน

คราวนี้จะมาแนะนำการผสมดินปลูกที่คล้ายๆ กับดินปลูกสำเร็จรูป ซึ่งข้อดีของการผสมดินปลูกเองคือ แคคตัสแต่ละต้นต้องการดินปลูกที่แตกต่างกัน บางต้นชอบชื้น บางต้นชอบโปร่งๆ แห้งๆ การผสมเองจะทำให้เราได้ดินปลูกที่เหมาะกับแต่ละต้นได้มากขึ้น

ส่วนผสมหลักๆ ที่ใช้ 

ดินใบก้ามปูหรือใบก้ามปูร่อน

เพอร์ไลท์

เวอมิคูไลท์

หินภูเขาไฟ เบอร์ 00

ทรายหยาบล้างสะอาด


วิธีง่ายสุดก็คือ ผสมอย่างละ 1 ส่วน หรือ ใบก้ามปูกับหินภูเขาไฟเบอร์ 00 อย่างละ 2 ส่วน ที่เหลืออย่างละ 1 ส่วน

หรืออยากได้โปร่งมากขึ้นสำหรับพันธุ์ที่ไม่ต้องการความชื้นสูงเช่น แมมมิลลาเรีย เรนโบว์ ฯลฯ ก็สามารถเพิ่มหินภูเขาไฟให้มากขึ้น

นอกจากนี้ก็สามารถเพิ่ม พีทมอส หินภูเขาไฟเบอร์ 01 กระดูกป่น เปลือกไข่ป่น ดินญี่ปุ่น ไตรโคเดอร์มา แล้วแต่ความสะดวกเลยครับ

ถ้ากลัวลืมตอนปลูกก็สามารถผสมสตาร์เกิลจี และออสโมโคส ไปในดินปลูกได้เลยครับ


การปลูก

รองก้นกระถางด้วยหินภูเขาไฟ ถ่าน หรือกาบมะพร้าวสับ

ใส่ดินปลูกให้เหลือขอบกระถางประมาณ 1-2 เซนติเมตร

แล้วก็โรยหินเกล็ด หินแม่น้ำ หินภูเขาไฟ ดินญี่ปุ่น ฯลฯ แล้วแต่สะดวก เพื่อกลบหน้าดินกันดินปลูกลอย





การดูแล

หมั่นโรยสตาร์เกิลจี เพื่อกันเพลี้ยต่างๆ

มียากันไรแดง เช่น ออทุส

ยากันเพลี้ยหอย เช่น ไวท์ออย

ยากันรา เช่น แคปแทน คาร์เบนดาซิม ฯลฯ

ติดบ้านไว้ครับ สำหรับฉีดพ่นเมื่อเกิดการระบาด หรือใช้พ่นป้องกัน

แสงแดด ได้แดด 50-80% วันละ 6-8 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงแดด 100% ช่วง 10.00-16.00 

น้ำ รดน้ำ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง หรือเมื่อดินแห้ง


มือใหม่หัดปลูกบัวดิน

     บัวดินเป็นพืชในสกุล Zephyranthes ในปัจจุบันมีให้เลือกปลูกมากมายหลายสี มีทั้งแบบซ้อนและไม่ซ้อน การปลูกก็ไม่ยาก สิ่งที่ต้องการคือดินที่อุดมสมบูรณ์ น้ำเพียงพอ แดดยิ่งมากยิ่งดี

     ดินที่ใช้ปลูกก็มีให้เลือกหลากหลาย ที่ใช้อยู่ประจำคือส่วนผสมระหว่างดินใบก้ามปู ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกหรือมูลไส้เดือน โดยใช้
 
ดินใบก้ามปู 4 ส่วน 
กาบมะพร้าว+ขุยมะพร้าว 2 ส่วน (ขึ้นกับขนาดกระถาง กระถางเล็กใช้ขุยมะพร้าวเป็นหลัก กระถางใหญ่ใช้กาบมะพร้าวเป็นหลัก) 
ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน 


การขยายพันธุ์ 

วิธีที่ง่ายที่สุด ก็คือการเพาะเมล็ดและการแยกหน่อ โดยการเพาะเมล็ดอาจจะได้ต้นที่ไม่เหมือนต้นแม่ ได้ดอกแบบใหม่ๆ 

อีกวิธีนึงก็คือการผ่าหัว คล้ายๆ กับการผ่าหัวว่านสี่ทิศ โดยการผ่าหัวเป็น 4 หรือ 8 ส่วน 


รอให้แผลแห้งสัก 3-7 วันแล้วค่อยรดน้ำ จากนั้นก็รอแตกหน่อ เมื่อหัวใหญ่พอสมควรก็สามารถแยกออกไปปลูกในกระถางได้ครับ


โรคและแมลง

ที่พบบ่อยๆ คือปัญหาเรื่องเพลี้ย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน วิธีแก้ไขคือโรยสตาร์เกิลจีเป็นประจำ 3 เดือนครั้งหรือเมื่อพบเพลี้ยระบาด


วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ความแตกต่างระหว่างโพทะเลและปอทะเล

 

 ความแตกต่างระหว่าง โพทะเล และ ปอทะเล

ทั้ง 2 ชนิด อยู่ในวงศ์ชบา (Malvaceae) ด้วยกันทังคู่ มีใบที่หน้าตาคล้ายกัน แต่มีจุดหนึ่งที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด นั่นก็คือส่วนของเกสร โดยโพทะเลจะมีเกสรตัวเมียสีขาว เกสรตัวผู้สีเหลืองดูคล้ายเป็นทรงกลม ส่วนปอทะเลจะมีเกสรตัวเมียสีแดง เกสรตัวผู้สีเหลือง ก้านชูมีลักษณะคล้ายหลอด

โพทะเล Thespesia populnea


 

ปอทะเล Hibiscus tiliaceus