วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ความแตกต่างระหว่างชงโคดอกเหลือง พญากาหลง และโยทะกา

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเอ่ยถึงโยทะกา พญากาหลง และ ชงโคดอกเหลือง ส่วนมากมักจะคิดว่าเป็นพืชต้นเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วนั้น...

ก่อนอื่นก็ขอเอ่ยถึงชงโคดอกเหลืองและพญากาหลงก่อนแล้วกันครับ

ชงโคดอกเหลือง 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia tomentosa L. 

วงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE)

ชงโคดอกเหลือง แบ่งแยกย่อยได้เป็น 2 ต้น
ต้นแรกคือ ชงโคดอกเหลือง เป็นสายพันธุ์ที่มีกลีบดอกสีเหลืองล้วน





ส่วนอีกสายพันธุ์หนึ่ง บางครั้งเรียกว่า พญากาหลง เป็นพันธุ์ที่มีกลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบมีสีม่วงเข้มเกือบดำ เมื่อใกล้โรยกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม





ซึ่งสองสายพันธุ์นี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็น โยทะกา แต่เมื่อนำไปอ้างอิงกับสารานุกรมพืช http://www.dnp.go.th/ จะได้ความว่า

โยทะกา 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia monandra Kurz 

วงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE)




ซึ่งทางสารานุกรมพืชได้บรรยายถึงต้นนี้ไว้ว่า ลักษณะดอก ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ใบประดับรูปใบหอก ยาวประมาณ 1 ซม. ใบประดับย่อยรูปแถบ ยาว 3-6 มม. ติดที่โคนฐานดอก ตาดอกรูปกระสวย ปลายแยกเป็น 5 แฉกเล็ก ๆ ฐานดอกยาว 2.5-3 ซม. กลีบเลี้ยงแฉกลึกด้านเดียว รูปใบพาย ยาว 1.5-2 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ สีครีมอมชมพู มีจุดสีชมพูกระจาย รูปไข่กลับ ยาว 4-5 ซม. มีก้านกลีบสั้นๆ กลีบด้านหลังยาวมีปื้นเป็นจุดสีแดงกระจาย เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 1 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. มีขนที่โคน อับเรณูยาวประมาณ 6 มม.


ซึ่งจะตรงกับรูปนี้
ที่มาของภาพ : swbiodiversity.org
ที่มาของภาพ : commons.wikimedia.org

ซึ่งจะคล้ายคลึงกับ ชงโคออสซี่ ที่มีการนำมาขายกันในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เมื่อนำไปเทียบชื่อวิทยาศาสตร์ก็พบว่า ชงโคออสซี่ คือ Bauhinia monandra Kurz เช่นเดียวกับโยทะกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น