วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วัชพืชใช้เป็นยา 2 : หญ้าแห้วหมู

หญ้าแห้วหมู
(Nut grass, Purple nut sedge, Nut sadge)



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus rotundus Linn. 

วงศ์ : Cyperaceae


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ต้น      ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีไหลและหัว ลำต้นสามเหลี่ยม สูง 10-60 เซนติเมตร
ใบ      ใบเดี่ยวเกี่ยวกับลำต้นรูปแถบ กว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาวถึง 60 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม                         กาบใบสีน้ำตาลอ่อน
ดอก     ดอกเป็นช่อกระจุกออกรวมเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายยอด ใบประดับมีใบย่อย 9 ใบหรือ                             มากกว่า รูปไข่ถึงรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 3-3.5 มิลลิเมตร ปลายมนมีติ่งหนาม                     โค้งเล็กน้อย สีแดงหรือน้ำตาลแกมม่วง
ผล      ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว รูปทรงกระบอกถึงรูปไข่กลับกึ่งทรงกระบอก มีสามมุม สีน้ำตาล                          กว้าง 0.5-0.7 มิลลิเมตร ยาว 1.3-1.5 มิลลิเมตร
  
การปลูกเลี้ยง            ขึ้นได้ทุกสภาวะ
ขยายพันธุ์                 แยกหัว ไหล เมล็ด
ประโยชน์                  หัวมีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการแน่นจุกเสียด

งานวิจัย
1. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์
          น้ำมันหอมระเหยจากหญ้าแห้วหมูมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ  สารกลุ่มเทอร์ปีนมีฤทธิ์ต้านอาการแพ้ และสาร alpha-cyperone มีฤทธิ์แก้ปวด

2. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
          2.1   ฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งและลดการบีบตัวของลำไส้
                 การทดสอบในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดหญ้าแห้วหมูมีฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้เล็กของหนูแรท และยังมีผลคลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้กระต่าย
          2.2  ฤทธิ์ขับลม
                 หญ้าแห้วหมูมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์ขับลม
          2.3   ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
                 การทดสอบสารสกัดหญ้าแห้วหมูในหลอดทดลองพบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรียที่ก่อโรคได้หลายชนิด เช่น เชื้อในโรคทางเดินอาหาร ได้แก่ Escherichia coli, Salmonella sp. เชื้อก่อโรคผิวหนัง ได้แก่ Staphylococcus aureus  ส่วนยาต้มจากหัวและลำต้นของหญ้าแห้วหมู มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์อย่างอ่อน นอกจากนี้ ส่วนของน้ำมันหอมระเหยจากหญ้าแห้วหมูยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีเช่นกัน
          2.4   ฤทธิ์แก้ปวด
       สารสกัด ยาต้มและน้ำมันหอมระเหยจากหัวหญ้าแห้วหมู และตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์แก้ปวดเมื่อทดลองในหนูแรท ในปัจจุบันมีการจดสิทธิ์บัตรตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบ ใช้แก้ปวด ปวดประจำเดือน และปวดกระเพาะอาหาร

3. อาการข้างเคียง
          ยังไม่มีรายงาน

4. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์
4.1  การทดสอบความเป็นพิษ
                 การรับประทานสารสกัดด้วยน้ำร้อนของตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบ ทำให้ผู้หญิงที่ท้องนอกมดลูก 42 คน แท้งโดยจะทำให้ก้อนเนื้อหายไป ไม่มีการตกเลือดและช่วยลดอาการปวด   ส่วนการป้อนหนูแรทที่ตั้งท้องด้วยสารสกัดด้วยเอทานอล พบว่าไม่มีผลยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน   ระยะเวลาการตั้งครรภ์ และช่วงเวลาในการคลอดของหนู แต่มีผลทำให้มีการสูญเสียลูกหนูมากขึ้น โดยทำให้ลูกหนูฝ่อหายไปหรือคลอดออกมาตาย
       ส่วนสารสกัดด้วยเอทานอล ไม่ว่าจะให้โดยการกรอกทางปากและฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่พบความเป็นพิษใด ๆ  

5. วิธีการใช้
          5.1   การใช้หญ้าแห้วหมูรักษาอาการแน่นจุกเสียดตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)
                 นำหัวแห้วหมู 1 กำมือ (60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตก แล้วต้มในน้ำสะอาด คั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่ม หรือใช้หัวสดครั้งละ 5 หัว โขลกให้ละเอียดผสมน้ำผึ้ง รับประทาน
          5.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
                            ไม่มี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/cyperus.html

วัชพืชใช้เป็นยา 1 : ยาบขี้ไก่


ยาบขี้ไก่
(Heartleaf hempvine)



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mikania cordata Rob.

วงศ์ : Asteraceae (Compositae)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ต้น      ไม้เลื้อยล้มลุก
ใบ      ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่แกมสามเหลี่ยม กว้าง 1.5-6 ซม. ยาว 3-10 ซม. โคนใบ                       เว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ขอบใบจักเป็นซี่เลื่อยหยาบๆ ผิวใบเกลี้ยง                         และเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเล็กเรียว ยาว 1-6 ซม.
ดอก     ดอกสีขาวแกมเขียวเป็นกระจุก ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายยอด ขนาด 1.5 มม. กลีบ                     ดอกยาว 5-9 มม. โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้จำนวน 5 อัน อับเรณูสีเทา                       เกสรเมียสีขาว ปลายบิดโค้งแยกเป็น 2 แฉก
ผล      ผลแห้ง สีน้ำตาลเข้ม รูปขอบขนานแคบ ยาว 3-3.5 มมม. มีรยางค์แข็งจำนวนมาก
  
การกระจายพันธุ์      เป็นวัชพืชเจริญได้ดีในเขตร้อน พบตามชายป่าหรือข้างทาง มักขึ้นเป็นพุ่มคลุม                                         พืชอื่นค่อนข้างแน่น
ฤดูออกดอก              พฤษภาคม-มิถุนายน
การปลูกเลี้ยง            ขึ้นได้ทุกสภาวะ
ขยายพันธุ์                 เพาะเมล็ด ปักชำ
ประโยชน์                  ใบตำพอกแผลบวมและรักษาโรคหิด

ดาเบบูย่าดอกเหลืองในไทย 3 : เหลืองเชียงราย


เหลืองเชียงราย
(Golden trumpet tree)



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Handroanthus chrysotrichus (Mart. ex DC.) Mattos

วงศ์ : Bignoniaceae

synonym :
Gelseminum chrysotrichum (Mart. ex DC.) Kuntze
Handroanthus chrysotrichus var. obtusata (DC.) Mattos
Tabebuia chrysotricha (Mart. ex DC.) Standl.
Tabebuia chrysotricha var. obtusata (DC.) Toledo
Tecoma chrysotricha Mart. ex DC.
Tecoma chrysotricha var. obtusata (DC.) Bureau & K.Schum.
Tecoma flavescens Mart. ex DC.
Tecoma grandis Kraenzl.
Tecoma obtusata DC.
Tecoma ochracea var. denudata Cham. 

ที่มา http://www.theplantlist.org


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ต้น      ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ผลัดใบ
ใบ      ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 5 ใบ รูปรีแกมรูปไข่กลับ แผ่นใบสาก มีขน         สีน้ำตาลปกคลุม โคนใบสอบ ปลายใบแหลมมน ขอบใบหยักห่างๆ 
ดอก     ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขนสีน้ำตาล           คลุม หนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแตร 
ผล      ผลเป็นผลแห้งแตก สีน้ำตาล  มีขนคลุมหนาแน่น เมล็ดแบน มีปีก จำนวนมาก
  
การกระจายพันธุ์      มีถิ่นกำเนิด  บราซิล
ฤดูออกดอก              มกราคม – เมษายน
การปลูกเลี้ยง            ดินร่วน อากาศเย็น แสงแดดจัด น้ำปานกลาง
ขยายพันธุ์                 เพาะเมล็ด

*********************************************************************************

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดาเบบูย่าดอกเหลืองในไทย 2 : เหลืองอินเดีย


เหลืองอินเดีย
(Golden Tree , Tallow Pui)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Handroanthus chrysanthus (Jacq.) S.O.Grose

วงศ์ : Bignoniaceae

synonym :
Bignonia chrysantha Jacq.
Handroanthus chrysanthus subsp. chrysanthus
Tabebuia chrysantha (Jacq.) G.Nicholson
Tabebuia rufescens J.R.Johnst.
Tecoma chrysantha (Jacq.) DC.
Tecoma evenia Donn.Sm.
Tecoma palmeri Kraenzl.

ที่มา http://www.theplantlist.org


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ต้น      ไม้ต้นขนาดกลางสูง 5-9 เมตร ผลัดใบเรือนยอดทึบ
ใบ      ใบประกอบแบบนิ้วมือซึ่งประกอบด้วยใบย่อย 5 ใบ มีขนอ่อนนุ่ม ๆ ด้านล่างมีขนรูปดาว
ดอก     ดอก สีเหลืองสดติดกันเป็นหลอดรูปแตร ยาว 4-7 ซม.ปลายแฉกมี 5 กลีบเมื่อบานเส้นผ่าน                       ศูนย์กลาง 3-4 ซม.เกสรผู้ 4 อันสั้น 2 ยาว 2 โคนก้านมีขน
ผล      ผล เป็นฝักแคบ ยาว 10-15 ซม. (ไม่พบการติดฝักในประเทศไทย)
  
การกระจายพันธุ์      มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเวสต์อินดีส โคลัมเบีย ถึงตอนเหนือของเวเนซูเอลา
ฤดูออกดอก              มีนาคม – เมษายน
การปลูกเลี้ยง            ดินร่วน แสงแดดจัด น้ำปานกลาง
ขยายพันธุ์                 ตอนกิ่ง

*********************************************************************************

ดาเบบูย่าดอกเหลืองในไทย 1 : เหลืองปรีดียาธร


เหลืองปรีดียาธร
(Silver trumpet tree, Tree of gold, Paraguayan silver trumpet tree)




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabebuia aurea (Silva Manso) Benth. & Hook.f. ex S.Moore

วงศ์ : Bignoniaceae

synonym :
Bignonia aurea Silva Manso
Couralia caraiba (Mart.) Corr.Méllo ex Stellfeld
Gelseminum caraiba (Mart.) Kuntze
Handroanthus caraiba (Mart.) Mattos
Handroanthus leucophloeus (Mart. ex DC.) Mattos
Tabebuia argentea (Bureau & K.Schum.) Britton
Tabebuia caraiba (Mart.) Bureau
Tabebuia caraiba var. squamellulosa (A. DC.) Bur. & K. Schum.
Tabebuia suberosa Rusby
Tecoma argentea Bureau & K.Schum.
Tecoma aurea (Silva Manso) DC.
Tecoma caraiba Mart.
Tecoma caraiba var. grandiflora Hassl.
Tecoma caraiba var. squamellulosa Bureau & K.Schum.
Tecoma leucophlaeos Mart. ex DC.
Tecoma squamellulosa DC.
Tecoma trichocalycina DC.

ที่มา http://www.theplantlist.org


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ต้น      ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ผลัดใบ
ใบ      ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 4-7 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบหนา คล้ายหนัง สีเขียวเหลือบเงิน โคนและปลายใบมน ขอบใบเรียบ
ดอก     ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแตร
ผล      ผลเป็นผลแห้งแตก สีเทา เมล็ดแบน มีปีก จำนวนมาก
  
การกระจายพันธุ์      มีถิ่นกำเนิด  อเมริกาเขตร้อน แถบปารากวัย อาร์เจนตินา บราซิล
ฤดูออกดอก              มกราคม - มีนาคม
การปลูกเลี้ยง            ดินร่วน แสงแดดจัด น้ำปานกลาง
ขยายพันธุ์                 เพาะเมล็ด

*********************************************************************************