วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

มือใหม่หัดเลี้ยงบัว

การปลูกเลี้ยง
         แสงแดด   :  บัวเป็นพืชน้ำที่ต้องการแสงแดดจัด อย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อวัน หากอยู่ในที่ที่ร่มเกินไป ดอกจะออกน้อยลง ก้านใบก้านดอกจะเล็กไม่สมบูรณ์
         น้ำ    :   อ่างน้ำที่จะปลูกบัวควรมีความลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร จะทำให้บัวเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากว่าน้ำจะไม่ร้อนจัดจนเกินไปเมื่อถูกแสงแดด โดยลองเอามือจุ่มลงในน้ำ ต้องไม่รู้สึกร้อน
         เครื่องปลูก :   ดิน ดินเหนียวสำหรับปลูกบัว ดินปลูกต้นไม้ทั่วไปก็ได้ หรือใครอยากใช้ทรายก็สามารถใช้ได้แต่อาจจะเปลืองปุ๋ย
         ปุ๋ย  :  สามารถใช้ปุ๋ยสำหรับบัวโดยเฉพาะ หรือ ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ได้ 1-2 อาทิตย์ครั้ง โดยสังเกตดูหากใบเล็กลงหรือมีใบน้อยลงหรือดอกเล็กลงหรือไม่มีดอก แสดงว่าพืชได้รับอาหารน้อยไป ควรเพิ่มปริมาณปุ๋ย แต่อย่าใส่มากเกินไป ประมาณ ครึ่งช้อนชาสำหรับกระถาง 8 นิ้ว

ขั้นตอนการปลูกแบบง่าย ๆ 
สำหรับผู้ที่ต้องการขยายกระถาง
- เริ่มต้นด้วยการโรยปุ๋ย จะเป็น 16-16-16 หรือออสโมโคส หรือปุ๋ยบัว ก็ได้ ไว้ก้นอ่างที่เตรียมไว้ (อาจจะตามด้วยปุ๋ยคอกหรือไม่ก็ได้)
- นำกระถางบัว(กระถางเดิม) วางตรงจุดที่ต้องการจะวางบัว จากนั้นนำเครื่องปลูก (ดินเหนียวจะผสมปุ๋ยคอกหรือไม่ก็ได้) เติมรอบ ๆ กระถางจนระดับเครื่องปลูกเสมอกับเครื่องปลูกเดิมที่อยู่ในกระถาง
- นำกระถางบัวเดิมออกมา ก็จะมองเห็นเป็นช่องสำหรับใส่บัว ปล่อยทิ้งให้ดินเหนียวในอ่างหน้าดินเริ่มหมาด ๆ เพื่อไม่ให้น้ำขุ่นเวลาเติมน้ำ
- ถอดบัวที่อยู่ในกระถางออกมาวางในช่องที่เตรียมไว้กดดินรอบ ๆ ให้แน่น จากนั้นก็เติมน้ำให้เต็มอ่าง เป็นอันเสร็จพิธี

 สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกใหม่
- ทำเหมือนกับต้องการขยายกระถาง เพียงแต่ไม่จำเป็นต้องทำช่องว่างสำหรับใส่บัว เตรียมเครื่องปลูกให้อยู่ในระดับที่ต้องการก็พอ
- หลังจากตั้งทิ้งไว้ให้ดินเหนียวหมาดแล้ว ก็ปลูกบัวที่เตรียมไว้ลงไป โดยถ้าเป็นบัวผัน บัวเผื่อน บัวหลวง ก็ให้ปลูกกลางอ่าง แต่ถ้าเป็นบัวฝรั่ง ก็ปลูกไว้ริมอ่างโดยหันยอดเข้าหากลางอ่าง เป็นอันเสร็จ

การดูแลรักษา  
         เพลี้ยอ่อน  : จะดูดน้ำเลี้ยงจากใบและดอก สังเกตว่าใบจะหงิก หรือเล็ก ไม่สมบูรณ์ จะเป็นเพลี้ยตัวเล็ก ๆ สีแดงหรือน้ำตาล เกาะอยู่ตามก้านใบหรือก้านดอกในส่วนที่โผล่พ้นน้ำ แพร่พันธุ์ได้เร็ว ควรฉีดพ่นด้วยมาลาไธออนเจือจาง ช่วงที่มีการระบาด 2-3 วันครั้ง สัก 3-4 ครั้งติดต่อกัน
         หนอน    :  จะกัดกินใบและดอก ต้องจับทิ้ง
         หอย   : ตัวเต็มไวจับทิ้งและกำจัดไข่ด้วยสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต(จุนสี) คัดไข่หอยทิ้ง โดยเมื่อพลิกใบจะเห็นไข่หอยเกาะอยู่มีลักษณะเป็นวุ้นใส ๆ บางทีอาจเกาะตามก้านใบหรือขอบอ่าง
         สาหร่ายและตะไคร่น้ำ  :  ดึงทิ้งและใส่สารละลายด่างทับทิมกำจัดอีกครั้ง

การขยายพันธุ์  แล้วแต่ชนิดของบัว  ได้ทั้ง เพาะเมล็ด แยกเหง้าหรือหัว หรือปักชำใบ(มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่สามารถชำใบได้ ต้องสังเกตตรงตัวใบหากมีปุ่มคล้ายหน่อยื่นอยู่ตรงที่ติดกับก้านแสดงว่าสามารถชำใบได้


ชนิดของบัว

วงศ์ MENYANTHACEAE  ได้แก่ สกุล Nymphoides
วงศ์ NELUMBONACEAE ได้แก่ สกุล Nelumbo
วงศ์ NYMPHAEACEAE ได้แก่ สกุล Nymphaea, Nuphar, Victoria




บัวบาดอกขาวและเหลือง
บัวบา (Nymphoides indica L.)  ขยายพันธุ์โดยการแยกไหล



บัวหลวงขาว (บุณฑริก)
บัวหลวงชมพู (ปทุม ปัทมา)
บัวฉัตรขาว (สัตตบุษย์)
บัวฉัตรชมพู (สัตตบงกช)
บัวหลวง (Nelumbo sp.) ขยายพันธุ์โดยการแยกไหลหรือเพาะเมล็ด



Red flare บัวสายใบแดง
อีกหนึ่งบัวสาย
บัวสาย (Nymphaea sp.)     ขยายพันธุ์โดยการแยกไหลหรือเพาะเมล็ด ต้องการอ่างที่ค่อนข้างลึก







บัวนางกวัก (Nymphaea sp.) ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ







บัวฝรั่ง ( Nymphaea sp.)     ขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด ต้องการอ่างที่ค่อนข้างลึก







บัววิคตอเรีย (Victoria sp.) ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ต้องการพื้นที่ค่อนข้างมาก



ฉลองขวัญ ต้องแยกหน่ออย่างเดียวเท่านั้น



บัวผัน บัวเผื่อน (Nymphaea sp.)  ขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้า  เพาะเมล็ด หรือชำใบ




บัวญี่ปุ่น (Nuphar japonica)
บัวญี่ปุ่น (Nuphar sp.)  ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น