วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Passiflora trifasciata Lem.

Passiflora trifasciata Lem.
วงศ์ Passifloraceae
ชื่อ : เท้าไดโนเสาร์ ดาวลดา


เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบอเมริกาใต้ เช่น เอลกวาดอร์ เปรู บราซิล
ลักษณะ 
เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นเหลี่ยม 

ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปนิ้วมือ แยกเป็นสามแฉกเว้าลึก คล้ายเท้าไดโนเสาร์ (เป็นที่มาของชื่อเท้าไดโนเสาร์) ใบอ่อนมีสีเขียว บริเวณเส้นกลางใบจะมีแถบสีเขียวอมเหลืองอ่อน ใบแก่มีสีเขียวอมม่วง เส้นกลางใบสีม่วงแดง ด้านหลังใบสีม่วงแดงเข้ม
ดอกสีขาว ออกดอกซอกใบเป็นคู่ตรงข้ามกัน
กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูปถ้วยห้าเหลี่ยม ปลายแยกเป็น ห้ากลีบ
กลีบดอกห้ากลีบมีขนาดเล็กกว่ากลีบเลี้ยง รยางค์สีขาว
ตรงกลางมีสีม่วงอ่อน ๆ
ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ บานแต่เช้าตรู่ ใครตื่นสายหมดสิทธิ์ชมเชย


ผลกลมขนาดประมาณ 2.5 ซม.

การปลูกเลี้ยง  :  ใช้ดินร่วนผสมกาบมะพร้าวสับ
น้ำ   : ต้องการน้ำชุ่มรดวันละครั้งตอนเช้าก็เพียงพอ
แดด : หากปลูกกลางแดดอย่างน้อยครึ่งวันใบจะมีสีสดสวย
ดอก : ออกได้เรื่อย ๆ
การขยายพันธุ์  : เพาะเมล็ดหรือปักชำ

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มือใหม่หัดเลี้ยง ยิปโซ ยิปซี



ยิปโซ หรือยิปซี เป็นต้นไม้เล็ก ๆ ดอกสวย ๆ เป็นพุ่ม ๆ ที่หลายคนเห็นแล้วก็ต้องหลงรัก

แต่เชื่อเถอะว่าหลาย ๆ คนปลูกไปได้ไม่ถึงสัปดาห์ เจ้าดอกไม้สีสวยนี้ก็จะร่วงโรยไปแล้วสิ้นชีพอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้เขียนเองก็เคยเป็นหนึ่งในนั้น

แต่เพราะความสงสัยว่าถ้าตายง่ายขนาดนั้น ทำไมถึงยังมีขายได้ทั่วไปอีกล่ะ


จึงได้ซื้อเจ้ายิปโซ หน้าตาเหมือนในรูปนี่แหละ ฟู ๆ สวยงาม

หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มฟุบ เริ่มเหี่ยวแห้ง เริ่มมีกิ่งแห้งตายให้เห็น

การแก้ปัญหาเบื้องต้นเพราะว่ายังไม่อยากให้สิ้นชีพตอนนี้
นั่นคือ ทำการตกแต่ง โดยการตัดกิ่งตายออกให้หมด แล้วใส่ปุ๋ยบำรุง 16-16-16 
ผลที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากเริ่มแตกใบอ่อนเขียวขจีอีกครั้งหนึ่ง สักพักก็ออกดอกพรึบ เพียงแต่ไม่ได้ฟูฟ่องเหมือนตอนซื้อมาใหม่ ๆ เท่านั้นเอง

แต่เลี้ยงไปได้สัก 3-4 เดือน ต้นก็เริ่มจะไม่ไหว เพราะต้นโทรมเยอะขึ้น แต่สิ่งที่พบคือ มีต้นอ่อนของยิปโซจำนวนมาก ขึ้นอยู่ในกระถาง!
เอาวะ เป็นไงเป็นกัน ลองเลี้ยงต้นอ่อนดูสักที

 สิ่งที่ทำก็ไม่มีอะไรมาก
ดินที่ใช้ปลูกกล้าเล็ก ๆ  ก็ดินปลูกต้นไม้ทั่ว ๆ ไป ผสมขุยมะพร้าว ปุ๋ยคอก อัตราส่วนประมาณ 2 ต่อ 1 ต่อ 1
น้ำก็รดทุกวัน ถ้าไม่ค่อยมีเวลาก็ใช้จานรองขนาดพอเหมาะกับกระถางก็ได้

 พอเลี้ยงไปได้สักระยะ รากเริ่มเต็มกระถาง ก็ทำการย้ายลงกระถางใหญ่ขึ้น ดินปลูกก็เพิ่มกาบมะพร้าวสับเล็กไปสัก 1 ส่วน ให้ดินไม่แฉะจนเกินไปนัก




ผลของการปลูก ก็ตามรูปนี้เลยครับ อายุก็ประมาณ 3- 4 เดือน แต่เจ้ายิปโซนี่ก็สามารถออกดอกได้ตั้งแต่ต้นนิดเดียวนะครับ ออกไวมาก ไม่ถึงเดือนเท่านั้น




สรุปการเลี้ยงเจ้ายิปโซที่พอจะทราบอย่างคร่าว ๆ นะครับ

1. เครื่องปลูกที่ใช้  ควรเป็นดินร่วนที่อุ้มน้ำได้ดี แต่ไม่แฉะมากจนเกินไป
2. แดด ยิปโซต้องการแดดเต็ม ๆ อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ถ้าอยู่ร่มมากอาจจะเน่าตายได้
3. น้ำ ควรรดทุกวัน อย่าให้ขาด อย่าให้เครื่องปลูกแห้งในตอนกลางวัน 
4. ปุ๋ย สามารถใช้สูตร 16-16-16 ได้ 2 อาทิตย์ครั้ง หรือเดือนละครั้งก็ได้

ข้อสังเกตหรือข้อแนะนำคือ เมื่อซื้อมาใหม่ ๆ แนะนำให้เปลี่ยนกระถางเป็นกระถางขนาดใหญ่ ๆ หรือลงแปลงปลูก น่าจะสามารถยืดอายุของต้นนี้ได้มากขึ้นครับ


ใครที่เลี้ยงเจ้าต้นนี้แล้วสิ้นชีพบ่อย ๆ อย่าท้อครับ

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พระจันทร์ครึ่งซีก ไม้คลุมดิน ดอกสวย มากคุณค่า

พระจันทร์ครึ่งซีก
(Chinese Lobelia, Herba Lobellae Chinensis, aze mushiro, and mizo kakushi)





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lobelia chinensis  Lour. 

วงศ์ : Campanulaceae


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ต้น      ไม้ล้มลุก ลำต้นขนาดเล็ก ตามข้อมีรากออก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ชูส่วนยอดขึ้น มี ยางสีขาว
ใบ      ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 0.2-0.6 ซม. ยาว 1-2 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบตัด ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตื้นเกือบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบสั้นมาก
ดอก     ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีม่วงอ่อน กลีบเลี้ยงสีเขียวอมม่วง มี 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อม ติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดดอกแยกผ่าออก ทำให้กลีบดอกเรียงเพียง ด้านเดียว หลอดดอกด้านนอกมีขนสีขาว
ผล      ผลแห้ง แตกออกได้

การปลูกเลี้ยง            ชอบที่ชื้นแฉะ ห้ามขาดน้ำ แสงแดดจัด ๆ ครึ่งวันเป็นอย่างน้อยจะให้ดอกไม่ขาด
ขยายพันธุ์                 ปักชำ เมล็ด

ส่วนที่ใช้   ทั้งต้นสด ขณะที่ดอกกำลังบาน

สรรพคุณ
          ลดไข้ แก้หอบหืด บำรุงปอด แก้อาเจียนเป็นเลือด วัณโรค ปอดพิการอักเสบ ทอนซิลอักเสบ เจ็บคอ ตาแดง ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อักเสบ บิด ขับปัสสาวะ (เพื่อลดอาการบวมจากไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้ในเลือดและดีซ่าน) ยาแก้มะเร็ง กระเพาะอาหาร หรือที่ทวารหนัก แก้ข้ออักเสบ เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ฝี แผลเปื่อย บาดแผล กลากเกลื้อน ผื่นคัน และแก้คัดจมูก หรือโรคแพ้ เนื่องจากการใช้ยา เข้ารากย่อม

ข้อห้ามใช้ 
          ห้ามใช้ในคนที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อุจจาระหยาบเหลว (จีนเรียก ม้ามพร่อง) 

ตำรับยาและวิธีใช้

แก้อาเจียนเป็นเลือด  ใช้ต้นสดตำผสมกับสุราเล็กน้อย รับประทาน

ท้องเสีย  ใช้ต้นสด 15- 30 กรัม (1 กำมือ) ต้มน้ำดื่ม

ทอนซิลอักเสบ ใช้ต้นสดตำให้ละเอียด ปั้นเป็นก้อนขนาดไข่ไก่ ใส่ในถ้วย เติมเหล้าเข้าไป 90 ซีซี. ผสมให้เข้ากัน คั้นเอาน้ำแบ่งอม 3 ครั้งๆ ละ 10-20 นาที แล้วบ้วนทิ้ง

บิด ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มน้ำ เติมน้ำตาลแดงดื่ม

บวมน้ำ (เพราะไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้) ใช้ต้นสด 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

ดีซ่าน ขัดเบา บวมน้ำ ใช้ต้นสด 30 กรัม ผสมกับรากหญ้าคา ( Imperata cylindrica Beauv ) 30 กรัม ต้มน้ำใส่น้ำตาลทราย แบ่งกิน 2 ครั้ง เช้า-เย็น

เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ใช้ต้นสด 60 กรัม น้ำ 180 ซีซี. ต้มให้เหลือ 90 ซีซี. กรองเอาน้ำเก็บไว้ นำกากที่เหลือไปต้มอีกครั้งตามอัตราส่วนเดิม นำน้ำกรองครั้งที่ 2 รวมกับครั้งแรก ให้เหลือ 60 ซีซี. เทใส่ขวดเก็บไว้ เวลาใช้เอาสำลีชุบน้ำยา ปิดบริเวณที่ปวดบวม

ฝี แผลเปื่อย ผิวหนังอักเสบ ใช้ต้นสดพอประมาณ ใส่เกลือเล็กน้อย ตำให้แหลก พอกบริเวณที่เป็น

เต้านมอักเสบ  ใช้ต้นสด ตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็น

ตาแดง ใช้ต้นสดจำนวนพอสมควร ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกบนหนังตา เอาผ้าก็อตที่สะอาดปิด เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง

สารเคมี   สารสำคัญคือ Lobeline, Flavone และ Inulin

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_11_3.htm

ความแตกต่างระหว่างปีบทอง และกาซะลองคำ


โดยทั่วไป คนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด (รวมผู้เขียนด้วย) ต้องคิดว่ากาซะลองคำ (กาสะลองคำ) กับปีบทองคือต้นเดียวกันแน่ ๆ
โดยนึกจาก
  กาซะลอง = ปีบ ,  คำ = สีเหลือง สีทอง  ดังนั้น กาซะลองคำก็คือปีบทอง

แต่เมื่ออ่านรายละเอียดจาก สารานุกรมพืชในประเทศไทย (The Encyclopedia of Plants in Thailand) ของสำนักงานหอพรรณไม้แล้ว พบว่า ปีบทอง กับ กาซะลองคำ เป็นคนละต้นกัน


ปีบทอง



ชื่อวิทยาศาสตร์  Radermachera hainanensis Merr.
วงศ์                      Bignoniaceae
ลักษณะ              ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-25 ม. ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาว 20-40 ซม. ใบย่อยรูปรีถึงแกมไข่กลับหรือแกมใบหอก ยาว 4-10 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่มกว้าง บางครั้งเบี้ยว มีต่อมประปรายด้านท้องใบใกล้โคนใบ ดอกออกเป็นช่อกระจุกสั้นๆ คล้ายช่อกระจะ ยาว 1-4 ซม. ออกตามปลายกิ่งหรือบนกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอด ยาว 0.8-1.8 ซม. กลีบดอกรูประฆัง สีเหลืองอมส้ม ปากกว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 3.5-5 ซม. เกสรเพศผู้ 4 อัน ก้านเกสรมีต่อมขนขนปกคลุมส่วนในหลอด จานฐานดอกรูปวงแหวน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ คล้ายทรงกระบอก มี 2 ช่อง ออวุลเรียง 2 แถวในแต่ละช่อง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ผลแห้งแล้วแตกตามยาว รูปแถบ ยาว 25-40 ซม. เมล็ดรูปแถบ ยาวประมาณ 1.2 ซม. รวมปีกใส
เขตการกระจายพันธุ์ ปีบทองมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะจีนตอนใต้ (ยูนาน, ไหนาน) อินโดจีน ในไทยพบในภาคตะวันออก (เขาใหญ่) ภาคตะวันออกเฉียงใต้ (จันทบุรี) และภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้ง ระดับความสูง 100-600 เมตร


กาซะลองคำ


ชื่อวิทยาศาสตร์  Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงศ์                      Bignoniaceae
ลักษณะ              ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาว 18-60 ซม. ใบประกอบย่อย 3-4 คู่ ใบย่อยมี 3-5 คู่ รูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 5-12 ซม. สองด้านมักไม่เท่ากัน ปลายใบแหลมบางครั้งยาวคล้ายหาง โคนใบแหลม มักมีต่อมที่โคนด้านหลังใบ ดอกออกเป็นช่อกระจุกสั้นๆ ออกตามลำต้นหรือกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันเป็นกาบตรงประมาณกึ่งหนึ่ง หลอดกลีบเลี้ยงยาว 1.5-2 ซม. กลีบดอกติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ยาว 4.5-7 ซม. สีส้ม ปลายเป็นแฉกสั้นๆ เกสรเพศผู้มีขนปกคลุม ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ฝักยาว 30-45 ซม.
เขตการกระจายพันธุ์  กาซะลองคำมีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศจีนตอนใต้ (ยูนาน) พม่า ลาว เวียดนาม ในไทยพบตั้งแต่ภาคใต้แถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพชรบุรี อุทัยธานี ขึ้นไปทางเหนือทางจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ และน่าน พบตามป่าดิบแล้งและเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1000 เมตร 

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วัชพืชใช้เป็นยา 2 : หญ้าแห้วหมู

หญ้าแห้วหมู
(Nut grass, Purple nut sedge, Nut sadge)



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus rotundus Linn. 

วงศ์ : Cyperaceae


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ต้น      ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีไหลและหัว ลำต้นสามเหลี่ยม สูง 10-60 เซนติเมตร
ใบ      ใบเดี่ยวเกี่ยวกับลำต้นรูปแถบ กว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาวถึง 60 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม                         กาบใบสีน้ำตาลอ่อน
ดอก     ดอกเป็นช่อกระจุกออกรวมเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายยอด ใบประดับมีใบย่อย 9 ใบหรือ                             มากกว่า รูปไข่ถึงรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 3-3.5 มิลลิเมตร ปลายมนมีติ่งหนาม                     โค้งเล็กน้อย สีแดงหรือน้ำตาลแกมม่วง
ผล      ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว รูปทรงกระบอกถึงรูปไข่กลับกึ่งทรงกระบอก มีสามมุม สีน้ำตาล                          กว้าง 0.5-0.7 มิลลิเมตร ยาว 1.3-1.5 มิลลิเมตร
  
การปลูกเลี้ยง            ขึ้นได้ทุกสภาวะ
ขยายพันธุ์                 แยกหัว ไหล เมล็ด
ประโยชน์                  หัวมีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการแน่นจุกเสียด

งานวิจัย
1. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์
          น้ำมันหอมระเหยจากหญ้าแห้วหมูมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ  สารกลุ่มเทอร์ปีนมีฤทธิ์ต้านอาการแพ้ และสาร alpha-cyperone มีฤทธิ์แก้ปวด

2. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
          2.1   ฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งและลดการบีบตัวของลำไส้
                 การทดสอบในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดหญ้าแห้วหมูมีฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้เล็กของหนูแรท และยังมีผลคลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้กระต่าย
          2.2  ฤทธิ์ขับลม
                 หญ้าแห้วหมูมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์ขับลม
          2.3   ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
                 การทดสอบสารสกัดหญ้าแห้วหมูในหลอดทดลองพบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรียที่ก่อโรคได้หลายชนิด เช่น เชื้อในโรคทางเดินอาหาร ได้แก่ Escherichia coli, Salmonella sp. เชื้อก่อโรคผิวหนัง ได้แก่ Staphylococcus aureus  ส่วนยาต้มจากหัวและลำต้นของหญ้าแห้วหมู มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์อย่างอ่อน นอกจากนี้ ส่วนของน้ำมันหอมระเหยจากหญ้าแห้วหมูยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีเช่นกัน
          2.4   ฤทธิ์แก้ปวด
       สารสกัด ยาต้มและน้ำมันหอมระเหยจากหัวหญ้าแห้วหมู และตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์แก้ปวดเมื่อทดลองในหนูแรท ในปัจจุบันมีการจดสิทธิ์บัตรตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบ ใช้แก้ปวด ปวดประจำเดือน และปวดกระเพาะอาหาร

3. อาการข้างเคียง
          ยังไม่มีรายงาน

4. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์
4.1  การทดสอบความเป็นพิษ
                 การรับประทานสารสกัดด้วยน้ำร้อนของตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบ ทำให้ผู้หญิงที่ท้องนอกมดลูก 42 คน แท้งโดยจะทำให้ก้อนเนื้อหายไป ไม่มีการตกเลือดและช่วยลดอาการปวด   ส่วนการป้อนหนูแรทที่ตั้งท้องด้วยสารสกัดด้วยเอทานอล พบว่าไม่มีผลยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน   ระยะเวลาการตั้งครรภ์ และช่วงเวลาในการคลอดของหนู แต่มีผลทำให้มีการสูญเสียลูกหนูมากขึ้น โดยทำให้ลูกหนูฝ่อหายไปหรือคลอดออกมาตาย
       ส่วนสารสกัดด้วยเอทานอล ไม่ว่าจะให้โดยการกรอกทางปากและฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่พบความเป็นพิษใด ๆ  

5. วิธีการใช้
          5.1   การใช้หญ้าแห้วหมูรักษาอาการแน่นจุกเสียดตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)
                 นำหัวแห้วหมู 1 กำมือ (60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตก แล้วต้มในน้ำสะอาด คั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่ม หรือใช้หัวสดครั้งละ 5 หัว โขลกให้ละเอียดผสมน้ำผึ้ง รับประทาน
          5.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
                            ไม่มี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/cyperus.html

วัชพืชใช้เป็นยา 1 : ยาบขี้ไก่


ยาบขี้ไก่
(Heartleaf hempvine)



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mikania cordata Rob.

วงศ์ : Asteraceae (Compositae)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ต้น      ไม้เลื้อยล้มลุก
ใบ      ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่แกมสามเหลี่ยม กว้าง 1.5-6 ซม. ยาว 3-10 ซม. โคนใบ                       เว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ขอบใบจักเป็นซี่เลื่อยหยาบๆ ผิวใบเกลี้ยง                         และเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเล็กเรียว ยาว 1-6 ซม.
ดอก     ดอกสีขาวแกมเขียวเป็นกระจุก ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายยอด ขนาด 1.5 มม. กลีบ                     ดอกยาว 5-9 มม. โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้จำนวน 5 อัน อับเรณูสีเทา                       เกสรเมียสีขาว ปลายบิดโค้งแยกเป็น 2 แฉก
ผล      ผลแห้ง สีน้ำตาลเข้ม รูปขอบขนานแคบ ยาว 3-3.5 มมม. มีรยางค์แข็งจำนวนมาก
  
การกระจายพันธุ์      เป็นวัชพืชเจริญได้ดีในเขตร้อน พบตามชายป่าหรือข้างทาง มักขึ้นเป็นพุ่มคลุม                                         พืชอื่นค่อนข้างแน่น
ฤดูออกดอก              พฤษภาคม-มิถุนายน
การปลูกเลี้ยง            ขึ้นได้ทุกสภาวะ
ขยายพันธุ์                 เพาะเมล็ด ปักชำ
ประโยชน์                  ใบตำพอกแผลบวมและรักษาโรคหิด

ดาเบบูย่าดอกเหลืองในไทย 3 : เหลืองเชียงราย


เหลืองเชียงราย
(Golden trumpet tree)



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Handroanthus chrysotrichus (Mart. ex DC.) Mattos

วงศ์ : Bignoniaceae

synonym :
Gelseminum chrysotrichum (Mart. ex DC.) Kuntze
Handroanthus chrysotrichus var. obtusata (DC.) Mattos
Tabebuia chrysotricha (Mart. ex DC.) Standl.
Tabebuia chrysotricha var. obtusata (DC.) Toledo
Tecoma chrysotricha Mart. ex DC.
Tecoma chrysotricha var. obtusata (DC.) Bureau & K.Schum.
Tecoma flavescens Mart. ex DC.
Tecoma grandis Kraenzl.
Tecoma obtusata DC.
Tecoma ochracea var. denudata Cham. 

ที่มา http://www.theplantlist.org


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ต้น      ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ผลัดใบ
ใบ      ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 5 ใบ รูปรีแกมรูปไข่กลับ แผ่นใบสาก มีขน         สีน้ำตาลปกคลุม โคนใบสอบ ปลายใบแหลมมน ขอบใบหยักห่างๆ 
ดอก     ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขนสีน้ำตาล           คลุม หนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแตร 
ผล      ผลเป็นผลแห้งแตก สีน้ำตาล  มีขนคลุมหนาแน่น เมล็ดแบน มีปีก จำนวนมาก
  
การกระจายพันธุ์      มีถิ่นกำเนิด  บราซิล
ฤดูออกดอก              มกราคม – เมษายน
การปลูกเลี้ยง            ดินร่วน อากาศเย็น แสงแดดจัด น้ำปานกลาง
ขยายพันธุ์                 เพาะเมล็ด

*********************************************************************************

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดาเบบูย่าดอกเหลืองในไทย 2 : เหลืองอินเดีย


เหลืองอินเดีย
(Golden Tree , Tallow Pui)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Handroanthus chrysanthus (Jacq.) S.O.Grose

วงศ์ : Bignoniaceae

synonym :
Bignonia chrysantha Jacq.
Handroanthus chrysanthus subsp. chrysanthus
Tabebuia chrysantha (Jacq.) G.Nicholson
Tabebuia rufescens J.R.Johnst.
Tecoma chrysantha (Jacq.) DC.
Tecoma evenia Donn.Sm.
Tecoma palmeri Kraenzl.

ที่มา http://www.theplantlist.org


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ต้น      ไม้ต้นขนาดกลางสูง 5-9 เมตร ผลัดใบเรือนยอดทึบ
ใบ      ใบประกอบแบบนิ้วมือซึ่งประกอบด้วยใบย่อย 5 ใบ มีขนอ่อนนุ่ม ๆ ด้านล่างมีขนรูปดาว
ดอก     ดอก สีเหลืองสดติดกันเป็นหลอดรูปแตร ยาว 4-7 ซม.ปลายแฉกมี 5 กลีบเมื่อบานเส้นผ่าน                       ศูนย์กลาง 3-4 ซม.เกสรผู้ 4 อันสั้น 2 ยาว 2 โคนก้านมีขน
ผล      ผล เป็นฝักแคบ ยาว 10-15 ซม. (ไม่พบการติดฝักในประเทศไทย)
  
การกระจายพันธุ์      มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเวสต์อินดีส โคลัมเบีย ถึงตอนเหนือของเวเนซูเอลา
ฤดูออกดอก              มีนาคม – เมษายน
การปลูกเลี้ยง            ดินร่วน แสงแดดจัด น้ำปานกลาง
ขยายพันธุ์                 ตอนกิ่ง

*********************************************************************************

ดาเบบูย่าดอกเหลืองในไทย 1 : เหลืองปรีดียาธร


เหลืองปรีดียาธร
(Silver trumpet tree, Tree of gold, Paraguayan silver trumpet tree)




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabebuia aurea (Silva Manso) Benth. & Hook.f. ex S.Moore

วงศ์ : Bignoniaceae

synonym :
Bignonia aurea Silva Manso
Couralia caraiba (Mart.) Corr.Méllo ex Stellfeld
Gelseminum caraiba (Mart.) Kuntze
Handroanthus caraiba (Mart.) Mattos
Handroanthus leucophloeus (Mart. ex DC.) Mattos
Tabebuia argentea (Bureau & K.Schum.) Britton
Tabebuia caraiba (Mart.) Bureau
Tabebuia caraiba var. squamellulosa (A. DC.) Bur. & K. Schum.
Tabebuia suberosa Rusby
Tecoma argentea Bureau & K.Schum.
Tecoma aurea (Silva Manso) DC.
Tecoma caraiba Mart.
Tecoma caraiba var. grandiflora Hassl.
Tecoma caraiba var. squamellulosa Bureau & K.Schum.
Tecoma leucophlaeos Mart. ex DC.
Tecoma squamellulosa DC.
Tecoma trichocalycina DC.

ที่มา http://www.theplantlist.org


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ต้น      ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ผลัดใบ
ใบ      ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 4-7 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบหนา คล้ายหนัง สีเขียวเหลือบเงิน โคนและปลายใบมน ขอบใบเรียบ
ดอก     ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแตร
ผล      ผลเป็นผลแห้งแตก สีเทา เมล็ดแบน มีปีก จำนวนมาก
  
การกระจายพันธุ์      มีถิ่นกำเนิด  อเมริกาเขตร้อน แถบปารากวัย อาร์เจนตินา บราซิล
ฤดูออกดอก              มกราคม - มีนาคม
การปลูกเลี้ยง            ดินร่วน แสงแดดจัด น้ำปานกลาง
ขยายพันธุ์                 เพาะเมล็ด

*********************************************************************************

วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

แววตา



แววตา

Black-eyed Susan vine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia alata Bojer ex Sims

synonym :
Endomelas alata (Bojer ex Sims) Raf.
ที่มา http://www.theplantlist.org

วงศ์ Acanthaceae


 แววตา              เป็นไม้ที่มีเขตกระจายพันธุ์แถบแอฟริกาตะวันออก อเมริกาตอนใต้ ออสเตรเลียตะวัน                               ออก
ต้น                     เป็นไม้เลื้อยพันขนาดเล็ก มีขนตามเถาและตามใบ


ดอก                  กลีบดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง ตรงกลางเป็นสีม่วงเข้มเกือบดำ ออกดอกดกมากช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน


ผล                   ผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก


เมล็ด             เมล็ดกลม ผิวขรุขระเล็กน้อย ขนาดประมาณ 4-5 มิลลิเมตร


การขยายพันธุ์  ใช้วิธีเพาะเมล็ด ขึ้นง่าย

การปลูก              ดินร่วยซุย เครื่องปลูกโปร่ง แสงแดดจัด น้ำวันละครั้ง